ภาษาฝรั่งเศษ
ภาษาฮอลแลนด์
ภาษาฟินแลนด์
ภาษาญี่ปุ่น

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประเทศรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ขอบพระคุณมากครับ)


รัสเซีย (Russia) (ภาษารัสเซีย: Росси́я, Rossija ออกเสียง [rʌ'sʲi.jə]) หรือ สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) (Росси́йская Федера́ция, Rossijskaja Federatsija ออกเสียง [rʌ'sʲi.skə.jə fʲɪ.dʲɪ'ra.ʦɪ.jə]) เป็นประเทศที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกของทวีปยุโรป และทางเหนือของทวีปเอเชีย เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (เป็นสองเท่าของอันดับสอง คือ ประเทศแคนาดา) เดิมเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียต และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีอิทธิพลที่สุดของโซเวียต

ประวัติศาสตร์
ยุคแห่งการตั้งอาณาจักร
ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถื่นฐานในรัสเซีย บริเวณแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำวอลกาทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติสแกนดิเนเวียและไวกิ้งที่รู้จักในนามวาแรนเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วในปี ค.ศ.880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียนก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟ และได้ตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวง โดยผนวกดินแดนเหนือและใต้เข้าด้วยกันแล้วขนานนามว่า เคียฟรุส (Kievan Rus')
ในปี ค.ศ. 978 เจ้าชายวลาดีมีร์ โมโนมัค ขึ้นครองราชย์และทรงนำศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าสู่รัสเซีย ซึ่งต่อมามีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะ สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของประเทศ ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวง ศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์และเป็นศูนย์กลางของคริสต์จักรออร์ทอดอกซ์ ในขณะที่เมืองอื่นๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1147 ว่าเจ้าชายยูริ ดอลโกรูกี มกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ มีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้หรือเครมลินขึ้นที่เนินเขาโบโรวิตสกายา ริมแม่น้ำมอสควา และตั้งชื่อเมืองว่า มอสโก
อาณาจักรมัสโควี
ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกล นำโดยบาตูข่าน เข้ารุกรานรัสเซีย และยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดจากโลกภายนอก ถูกควบคุมทางการเมือง การปกครอง และต้องจ่ายภาษีให้กับมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจมาทางตอนเหนือ
ในปี 1328 พระเจ้าอีวานที่ 1 ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีฉายาว่า lvan kalita หรืออีวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการให้มองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโก ต่อมาในยุคของพระเจ้าอีวานที่ 2 (ค.ศ. 1353-1359) มองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจ เจ้าชายดมีตรี โอรสแห่งพระเจ้าอีวานที่ 2 ทรงขับไล่มองโกลได้สำเร็จในการรบที่คูลีโคโว บนฝั่งแม่น้าดอน ในปี 1380 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดมีตรี ดอนสกอย (ดมีตรีแห่งแม่น้ำดอน) ได้รวมเมืองวลาดีมีร์และซุลดัล อันเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรมัสโควี และยังได้บูรณะเครมลินเป็นกำแพงหินขาวแทนไม้โอ๊ก มอสโกจึงมีอีกชื่อเรียกว่า เมืองกำแพงหินขาวในยุคนั้น แต่เพียงไม่นานพวกตาตาร์ก็กลับมาทำลายเครมลินจนพินาศ รัสเซียต้องเป็นเมืองขึ้นของตาตาร์อีกครั้งหนึ่งในปี 1382
จนเข้าสู่สมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 หรือพระเจ้าอีวานมหาราช (ค.ศ. 1462-1505) พระองค์ทรงอภิเษกกับหลานสาวของจักรพรรดิองค์ก่อนแห่งไบแซนไทน์ในปี 1472 และรับอินทรีสองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย ในยุคของพระองค์ได้รวบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1480 ทรงขับไล่กองกำลังตาตาร์ออกจากรัสเซียจนหมดสิ้น ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล ทรงบูรณะเคนมลินให้เป็นหอคอยสูงและโบสถ์งดงามไว้ภายในเครมลิน นับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของรัสเซีย
ปี 1574 พระเจ้าอีวานที่ 4 (1533-1584) หลานของพระเจ้าอีวานมหาราช ได้รับสถาปนาเป็นซาร์พระองค์แรก (ซาร์ มาจากคำว่า ซีซาร์ ผู้ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมันและไบแซนไทน์) พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่าทรงรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก เมื่อหมดยุคของพระเจ้าอีวานที่ 4 ในปี ค.ศ. 1584 มอสโกก็ประสบปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างราชวงศ์รูริก และโรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ก็มีมติเลือกมิคาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ


จักรวรรดิรัสเซีย
ค.ศ. 1613-1917 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช (ค.ศ. 1682-1725) ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย พระองค์ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 10 ชันษา พร้อมกับพระเจ้าอีวานที่ 5 (เป็นกษัตริย์บัลลังก์คู่) จนในปี 1696 เมื่อพระเจ้าอีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช จึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่ โดยในปีค.ศ. 1712 ทรงย้ายเมืองหลวงจากมอสโกมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกองทหารราชนาวีขึ้นในรัสเซีย ทั้งยังทรงนำช่างฝีมือจากฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มาสร้างวิหารและพระราชวังที่งดงามอีกมากมาย และทรงนำพาจักรวรรดิรัสเซียให้เป็นที่รู้จักเกรียงไกรในสังคมโลก ถัดจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชยังมีซาร์และซารีนาอีกหลายพระองค์ที่สืบราชบัลลังก์ ทว่าผู้ที่สร้างความเจริญเฟื่องฟูให้กับรัสเซียสูงสุด ได้แก่ พระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ 2 (ค.ศ. 1762-1796) พระนางได้รับการยกย่องให้เป็นราชินี ด้วยทรงเชี่ยวชาญด้านการปกครองอย่างมาก กระนั้นพระนางก็มีชื่อเสียงด้านลบด้วยพระนางมีคู่เสน่หามากมาย
ผู้สืบราชวงศ์องค์ต่อมาคือ พระเจ้าพอลล์ที่ 1 (ค.ศ. 1796-1801) พระราชโอรสของพระนางเจ้าแคทเทอรีน ทรงครองราชย์อยู่เพียงระยะสั้น จากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 (1801- 1825) พระราชโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อ ในปี 1812 ทรงทำศึกชนะจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส แต่แล้วในช่วงปลายรัชกาล เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบบรัฐสภา ปี 1825 เกิดกบฏต่อต้านราชวงศ์ขึ้นในเดือนธันวาคม เรียก กบฏธันวาคม (Decembrist Movement) แต่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (ค.ศ. 1825-1855) ก็ทรงปราบกลุ่มผู้ต่อต้านไว้ได้ พอมาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855-1881) พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปี 1881 ทิ้งไว้เพียงอนุสรณ์สถานที่สร้างอุทิศแด่พระองค์ ณ จุดที่ถูกลอบปลงพระชนม์ ซาร์องค์ต่อมาคือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (ค.ศ. 1881-1894) จนถึงซาร์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (1894-1917) ความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น และความยากจน ก่อให้เกิดการปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดนกรรมการชาวนาในปี 1905 ซึ่งมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า วันอาทิตย์เลือด Bloody Sunday และสุดท้ายคือการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 กระนั้นชนวนที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟและระบอบซาร์ถึงกาลอวสานก็มีปัจจัยอื่นเช่นกัน
สมัยสหภาพโซเวียต
การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมือง ในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)
ปี ค.ศ. 1918 ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโก กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า The Great Patriotic War กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) นี้ไว้ได้
ปี ค.ศ. 1955 นีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22
ปี ค.ศ. 1985 มิฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ. 1990 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งศตวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)

อักษรภาษารัสเซีย

อักษรภาษารัสเซียมี 33 ตัว
มีพยัญชนะ 21 ตัวคือ Б В Г Д Ж З Й К Л М Н П Р С Т Ф Х Ц Ч Ш Щ
สระ 6 ตัวคือ А И О У Ы Э
อักษรผสมระหว่างพยัญชนะกับสระ 4 ตัวคือ Е Ё Ю Я
เครื่องหมาย 2 ตัวคือ Ъ Ь
А а ออกเสียง "ah"
Б б ออกเสียง "beh"
В в ออกเสียง "veh"
Г г ออกเสียง "geh"
Д д ออกเสียง "deh"
Е е ออกเสียง "yeh"
Ё ё ออกเสียง "yo"
Ж ж ออกเสียง "zheh"
З з ออกเสียง "zeh"
И и ออกเสียง "ee"
Й й ออกเสียง "ee kratkoyeh"
К к ออกเสียง "kah"
Л л ออกเสียง "ehl"
М м ออกเสียง "ehm"
Н н ออกเสียง "ehn"
О о ออกเสียง "oh"
П п ออกเสียง "peh"
Р р ออกเสียง "ehr"

ภาษารัสเซียทั่วไป

ภาษารัสเซีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พูดใน:รัสเซีย และอดีตประเทศใน สหภาพโซเวียต

ภาษาราชการของ:รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน สหประชาชาติ ไครเมีย (ในยูเครน)
ภาษารัสเซีย (ภาษารัสเซีย русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุดภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์เมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ

ภาษาเขียน

มีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10อักษรอักษรที่ใช้เขียนภาษารัสเซียเรียกว่าอักษรซีริลลิก มีอยู่ทั้งหมด 33 ตัวด้วยกัน ดังต่อไปนี้

Аа Бб Вв Гг Дд Ее Ёё Жж Зз Ии Йй
Кк Лл Мм Нн Оо Пп Рр Сс Тт Уу Фф
Хх Цц Чч Шш Щщ Ъъ Ыы Ьь Ээ Юю Яя

ในภาษาอื่นที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษายูเครน ภาษามองโกเลีย ฯลฯ จะมีอักขระพิเศษเพิ่มขึ้นมาตามแต่ละประเทศ ภาษาในประเทศรัสเซีย อักษรซีริลลิกนอกจากจะใช้เขียนภาษารัสเซีย ปัจจุบันยังใช้เขียนภาษาของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศ
ด้วยระบบเสียงเสียงพยัญชนะไวยากรณ์ภาษารัสเซียมีลักษณะคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ กาล การก แม้ว่าในหลายภาษาในตระกูลเดียวกันกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้หายไปบ้าง แต่ในภาษารัสเซียรวมทั้งภาษาสลาวิกอื่น ๆ ยังคงมีกฎเหล่านี้อยู่นอกจากนี้แล้ว กริยาภาษารัสเซีย ยังมีรูปสมบูรณ์ และ ไม่สมบูรณ์ โดยกริยาสมบูรณ์เน้นที่ผลของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ прочитать หมายถึง อ่าน (จบแล้ว)ประโยคตัวอย่างЯ прочитал эту книгу. (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว)ส่วนกริยาไม่สมบูรณ์เน้นที่ขั้นตอนของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ читать หมายถึง อ่านประโยคตัวอย่างЯ читаю эту книгу. ฉันกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ (เริ่มอ่านแล้ว และ ยังอ่านไม่จบเล่ม)อนึ่ง กาลของกริยาสมบูรณ์มีเพียง 2 กาล คือ อดีต และ อนาคต ต่างจากกริยาไม่สมบูรณ์ ที่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต (กาลอนาคตใช้ กริยา быть มาขยายข้างหน้ากริยารูป infinitive โดยผันกริยา быть ตามประธาน กาลปัจจุบัน (เช่น Я буду, ты будешь...они будут)

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แนวความคิด

แนวความคิด
มีใครสนใจหรือพูดอ่านเขียนภาษาเหล่านี้ได้ลองเข้าในคุยกันนะ
๑. ภาษาเยอรมัน
๒. ภาษารัสเซีย
๓. ภาษาฝรั่งเศษ
๔. ภาษาสวีเดน
๕. ภาษาฮอลแลนด์
๖. ภาษาญี่ปุ่น